NVDA command key quick reference คำสั่งที่ใช้งานผ่านทางแป้นพิมพ์ลัดส่วนใหญ่ของ NVDA จะใช้เรียกแป้น Insert ว่า NVDA key แป้น Insert จะปรากฏอยู่บริเวณ Numeric keypad และบริเวณ Del, home/end, และ page up/down เท่านั้น หากแป้น Insert จัดวางในตำแหน่งอื่นๆ เช่น การจัดวางแป้นพิมพ์ของเครื่องคอมพิวเตอร์ประเภทพกพาที่มีลักษณะแตกต่างกันไปตามบริษัทผู้ผลิตและการออกแบบ ผู้ใช้งาน NVDA สามารถโยกย้าย NVDA key ไปยังตำแหน่งของ Caps lock key ได้ โดยเลือกไปที่หน้าต่าง "ตั้งค่าทั่วไป" ทั้งนี้ การใช้งานคำสั่งต่างๆ ผ่านทางแป้นพิมพ์ลัด จะต้องกดแป้น NVDA ค้างไว้ในลักษณะเดียวกับการใช้งานแป้น Control หรือ Alternate คือ กดค้างไว้และตามด้วยแป้นคำสั่งที่เป็นรูปแบบตัวอักษร Global commands: ชุดคำสั่งทั่วไปของ NVDA ที่ผู้ใช้งานควรทราบ Control: หยุดอ่าน Shift: อ่านต่อ ใช้แป้น Control เพื่อหยุดการอ่านและใช้แป้น Shift เพื่ออ่านต่อ หากเลือกเสียงสังเคราะห์เป็น Microsoft Text to Speech API 5.1 การใช้แป้น shift เพื่ออ่านต่อจะใช้งานไม่ได้ ต้องเปลี่ยนเป็น ESpeak หรือ Microsoft Text to Speech API 4 เท่านั้น หากมีความจำเป็นที่จะต้องใช้ Microsoft Text to Speech API 5.1 ให้เลือกกดแป้น Arrow down จะช่วยอ่านต่อจนจบบรรทัด NVDA+1: โหมดช่วยเหลือ คำสั่งนี้เป็นคำสั่งที่ใช้เพื่อสลับสถานะเพื่อเปิดหรือปิดตัวช่วยเหลือต่างๆ ในระหว่างการใช้งาน NVDA หากผู้ใช้งานไม่แน่ใจว่า คำสั่งต่างๆ ที่เป็นแป้นพิมพ์ลัดนั้นมีความหมายอะไร ใช้เพื่ออะไร ให้ลองกดแป้น NVDA + 1 เพื่อนำเข้าไปสู่โหมดช่วยเหลือนี้และทดลองกดแป้นพิมพ์ที่ไม่แน่ใจแล้ว NVDA จะอธิบายให้ฟัง NVDA+t: หัวเรื่อง คำสั่งนี้ใช้อ่านหัวเรื่องของหน้าต่างที่กำลังใช้งานอยู่ กด 2 ครั้ง จะอ่านแบบสะกดให้ฟัง กดซ้อนกัน 3 ครั้ง จะคัดลอกข้อความลงบนคลิบบอร์ด NVDA+b: อ่านพื้นหน้า คำสั่งนี้ใช้อ่านพื้นหน้าของหน้าต่างที่อยู่ในระหว่างการใช้งาน มักใช้ในการอ่านข้อมูลของกล่องโต้ตอบสำหรับการทวนซ้ำ จะสังเกตว่า NVDA จะอ่านในรายละเอียดภายในหน้าต่างที่อยู่ระหว่างการทำงานได้มากกว่าคำสั่ง NVDA + t NVDA+n: แสดงส่วนเชื่อมต่อกับผู้ใช้งานแบบกราฟฟิก คำสั่งนี้ใช้เรียกหน้าต่างควบคุมหลักของ NVDA หน้าต่างหลักนี้ใช้สำหรับตั้งค่าหรือกำหนดตัวเลือกต่างๆ ในการใช้งาน NVDA+q: ออก คำสั่งนี้ใช้เรียกเพื่อสิ้นสุดการใช้งาน NVDA หรือออกจาก NVDA หลังจากการใช้คำสั่งนี้ จะปรากฏหน้าต่างยืนยันการออกจาก NVDA อีกครั้ง NVDA+s: โหมดการอ่าน คำสั่งนี้มีไว้เพื่อสลับสถานะการอ่าน คือ อ่านตามปกติ เปล่งเสียงร้องปิ๊ดๆ หรือปิดเสียง คำสั่งนี้จะมีประโยชน์อย่างมากในขณะที่ผู้ใช้งานไม่ต้องการอ่านหรือรับฟังเสียงอ่านตลอดเวลา เช่น ในขณะที่เครื่องคอมพิวเตอร์กำลังทำงานที่กินระยะเวลาและมีแถบแสดงสถานะเคลื่อนไหวอยู่ หากเลือกที่สถานะการอ่านตามปกติ ผู้ใช้งานต้องรับฟังเสียงอ่านจำนวนมากและไม่สอดคล้องกับสถานะข้อมูลบนจอภาพปัจจุบัน NVDA+F12: วัน เวลา คำสั่งนี้มีไว้เพื่อใช้อ่านเวลา กดซ้อนกัน 2 ครั้ง จะเป็นการอ่านวันที่ NVDA+End: อ่านแถบสถานะ คำสั่งนี้มีไว้เพื่อให้ NVDA อ่านแถบสถานะของโปรแกรมที่กำลังใช้งานอยู่ ข้อสังเกต คือ แป้นพิมพ์ end จะอยู่บริเวณ Four-key cursor เท่านั้น ไม่สามารถใช้คำสั่งนี้ที่แป้นของ Numeric keypad ได้ NVDA+f: รายงานการจัดรูปแบบ คำสั่งนี้ใช้สำหรับการอ่านการจัดรูปแบบของจอภาพ เช่น แบบอักษร ขนาด แบบของย่อหน้า และอื่นๆ โดยเฉพาะบริเวณที่ใช้งานอยู่ Control+NVDA+f1: อ่านชื่อของโปรแกรม คำสั่งนี้มีไว้เพื่ออ่านชื่อของโปรแกรมที่กำลังใช้งานอยู่ สะกดชื่อของโปรแกรมนั้นๆ และชื่อของ Application module ที่ NVDA เรียกใช้งานอยู่เบื้องหลัง NVDA+Shift+b: อ่านสถานะของแบตเตอรี่ สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพา จะสังเกตว่า มีแถบแสดงระดับของแบตเตอรี่ คำสั่งนี้ใช้สำหรับอ่านระดับของแบตเตอรี่และจะหายไปเมื่อแบตเตอรี่เต็มแล้วหรือใช้ปลั๊กไฟเชื่อมต่ออยู่ NVDA+5: สลับสถานะการอ่านข้อความเคลื่อนไหว คำสั่งนี้มีไว้เพื่อสลับสถานะการอ่านข้อความเคลื่อนไหวบนหน้าจอ จะสังเกตได้ชัดเจนในขณะที่ใช้งานคำสั่งต่างๆ บน DOS หรือคำสั่งจำพวก Command line อื่นๆ ที่มีข้อความเคลื่อนไหวรายงานทีละบรรทัด NVDA+6: สลับสถานะการเคลื่อนที่ของลูกศรกับแถบทบทวน คำสั่งนี้มีไว้เพื่อสลับสถานะเปิดหรือปิดการใช้งานของแถบทบทวนที่เคลื่อนที่อัตโนมัติไปตามลูกศรอยู่ตลอดเวลา หากสถานะเป็นปิด แถบทบทวนจะไม่เคลื่อนไหวอ้างอิงตามตำแหน่งของลูกศร (แถบทบทวนจะอยู่บริเวณ Numeric keypad เท่านั้น) NVDA+7: สลับสถานะการเคลื่อนที่ของลูกศรกับแถบทบทวน คำสั่งนี้มีไว้เพื่อสลับสถานะการตั้งค่าให้วัตถุนำล่องเคลื่อนไหวหรือไม่เคลื่อนไหวตามวัตถุโฟกัสที่มักจะเคลื่อนไหวไปมา NVDA+Tab: รายงานโฟกัสปัจจุบัน คำสั่งนี้ใช้อ่านวัตถุที่ NVDA กำลังโฟกัสอยู่ มักใช้ในการอ่าน Object Control ต่างๆ เช่น control textbox, combo box, button และอื่นๆ NVDA+f2: ส่งผ่านแป้นพิมพ์ คำสั่งนี้มักจะถูกเรียกใช้นำหน้าคำสั่งแป้นพิมพ์ลัดอื่นๆ ที่ผู้ใช้งานไม่ต้องการจะสื่อสารกับ NVDA สาเหตุที่จะต้องใช้คำสั่งแป้นพิมพ์ลัดนี้ เพื่อขจัดความซ้ำซ้อนกันระหว่างคำสั่งของ NVDA เองกับคำสั่งของโปรแกรมอื่น Shift+NVDA+upArrow: รายงานข้อความที่เลือก คำสั่งนี้ใช้เพื่ออ่านทวนข้อความที่ถูกเลือก (คลุมดำ) NVDA+upArrow: รายงานบรรทัด คำสั่งนี้ใช้อ่านข้อความในบรรทัดปัจจุบัน ข้อสังเกต คือ จะต้องใช้แป้นลูกศรขึ้นที่ Four-key cursor เท่านั้น NVDA+downArrow: อ่านทั้งหมด คำสั่งนี้เป็นการขอให้ NVDA เริ่มอ่านข้อความตลอดทั้งหน้าต่าง (เฉพาะเนื้อความ) ทั้งนี้ แป้น Downarrow จะต้องใช้ใน Four-key cursor เท่านั้น NVDA+f1: อ่านข้อมูลเกี่ยวกับวัตถุนำล่อง คำสั่งนี้เป็นการอ่านข้อมูลหรือรายละเอียดของวัตถุนำล่อง (สำหรับผู้พัฒนา NVDA) Control+NVDA+c: บันทึกการตั้งค่า คำสั่งนี้ใช้ให้ NVDA บันทึกการตั้งค่าต่างๆ ไว้เป็นค่าเริ่มต้นในครั้งถัดไป Control+NVDA+r: กลับไปใช้การตั้งค่าก่อนหน้า คำสั่งนี้ใช้เพื่อย้อนไปทำงานกับการตั้งค่าที่บันทึกไว้ก่อนหน้า การเปลี่ยนแปลงการตั้งค่าที่พบในรายการการตั้งค่า NVDA+2: สลับการอ่านตัวอักษร คำสั่งนี้มีไว้เพื่อสลับการอ่านตัวอักษรที่ผ่านเข้ามาทางแป้นพิมพ์ การอ่านตัวอักษรมี 2 สถานะ คือ เปิด หรือ ปิด ถ้า เปิด ไม่ว่าจะกดแป้นพิมพ์ใดๆ NVDA จะอ่านให้ฟัง NVDA+3: สลับการอ่านคำ คำสั่งนี้มีไว้เพื่อสลับการอ่านคำ หากสถานะเป็น เปิด ทุกครั้งที่พิมพ์เสร็จ 1 คำ แล้วกดแป้น Spacebar NVDA จะอ่านคำที่เพิ่งจะพิมพ์เสร็จไป NVDA+4: สลับการอ่านทวนคำสั่ง คำสั่งนี้มีไว้เพื่อสลับสถานะการอ่านทวนแป้นพิมพ์ต่างๆ ที่ใช้งานผ่านทางแป้นพิมพ์ลัด NVDA+p: สลับการอ่านสัญลักษณ์ คำสั่งนี้มีไว้เพื่อสลับสถานะการอ่านสัญลักษณ์ต่างๆ ที่ปรากฏบนจอภาพ หากสถานะเป็น ปิด NVDA จะอ่านข้ามสัญญาลักษณ์ต่างๆ ทันที NVDA+m: สลับการติดตามตำแหน่งของ Mouse โดยปกติ NVDA จะอ่านข้อความบริเวณตำแหน่งที่ Mouse ทำงานอยู่ คำสั่งนี้มีไว้สลับสถานะเปิดหรือปิดการอ่านข้อความตามติด Mouse ที่เคลื่อนไหว NVDA+u: สลับการเปล่งเสียงเมื่อแถบการรายงานความคืบหน้าเคลื่อนไหว โดยปกติ NVDA จะเปล่งเสียงร้องสูงต่ำให้สอดคล้องกับสถานะการทำงานของโปรแกรมที่เคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา คำสั่งนี้มีไว้เพื่อสลับการใช้งานเปิดหรือปิดเสียงร้องดังกล่าว ค่าตั้งต้น คือ อ่านตลอดเวลา หรือจะเลือกเป็นรายงานทุกๆ 10 เปอร์เซ็นต์ Control+NVDA+leftArrow: ตั้งค่าหมวดก่อนหน้า Control+NVDA+rightArrow: ตั้งค่าหมวดถัดไป Control+NVDA+upArrow: เพิ่มค่า Control+NVDA+downArrow: ลดค่า คำสั่งทั้ง 4 นี้ มีหลักการทำงานร่วมกัน กล่าวคือ ใช้ตั้งค่าเสียง ได้แก่ เลือกเสียงอ่าน, ระดับความดังเบา, อัตตราความเร็วในการอ่าน, ระดับเสียงสูงต่ำ ทั้งนี้ การกดแป้นพิมพ์ Control+NVDA+rightArrow หรือ leftarrow เป็นการสลับแถบการตั้งค่าเสียงตามที่กล่าวมา ส่วนการกด Uparrow หรือ Downarrow เป็นการตั้งค่าตามความต้องการ Show dialogues: ชุดคำสั่งเพื่อเรียกกล่องโต้ตอบต่างๆ ผ่านทางแป้นพิมพ์ลัด Control+NVDA+g: เปิดการตั้งค่าทั่วไป คำสั่งนี้ใช้เรียกกล่องโต้ตอบสำหรับการตั้งค่าทั่วไป Control+NVDA+s: เปิดการตั้งค่าเสียงสังเคราะห์ คำสั่งนี้ใช้เรียกกล่องโต้ตอบสำหรับการตั้งค่าตัวเลือกของเสียงสังเคราะห์ Control+NVDA+v: เปิดการตั้งค่าเสียง คำสั่งนี้ใช้เรียกกล่องโต้ตอบสำหรับการตั้งค่าเสียง Control+NVDA+k: เปิดการตั้งค่าแป้นพิมพ์ คำสั่งนี้ใช้เรียกกล่องโต้ตอบสำหรับการตั้งค่าแป้นพิมพ์ Control+NVDA+m: เปิดการตั้งค่า Mouse คำสั่งนี้ใช้เรียกกล่องโต้ตอบสำหรับการตั้งค่า Mouse Control+NVDA+o: เปิดการตั้งค่าการแสดงวัตถุ คำสั่งนี้ใช้เรียกกล่องโต้ตอบสำหรับการตั้งค่าการแสดงวัตถุ Control+NVDA+b: เปิดการตั้งค่า Virtual Buffers คำสั่งนี้ใช้เรียกกล่องโต้ตอบสำหรับการตั้งค่าของ Virtual Buffers Control+NVDA+d: เปิดการตั้งค่ารูปแบบเอกสาร คำสั่งนี้ใช้เรียกกล่องโต้ตอบสำหรับการตั้งค่ารูปแบบเอกสาร Control+NVDA+z: เปิดการตั้งค่าของ Python Console คำสั่งนี้ใช้เรียกกล่องโต้ตอบสำหรับการตั้งค่าของ python console Navigator object navigation: ชุดคำสั่งแสดงความสัมพันธ์ของวัตถุต่างๆ ด้วยวัตถุนำร่อง NVDA ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถสำรวจโครงสร้างความสัมพันธ์ระหว่างวัตถุต่างๆ บนจอภาพด้วยการใช้เครื่องมือที่เรียกว่า วัตถุนำล่อง ซึ่งความสัมพันธ์ดังกล่าว นำเสนอในรูปแบบของโครงสร้างต้นไม้ตรรกะ (Logical tree Structure) โดยปกติ รากของต้นไม้ คือ Desktop แตกกิ่งออกมาเป็น Application ต่างๆ ที่ใช้งานอยู่ และ Application ที่กำลังใช้งานอยู่เหล่านี้เอง ก็มีกิ่งก้านขยายสาขาลงมาตามลำดับ ถึงแม้ว่า NVDA มีข้อจำกัดในการเข้าถึงส่วนต่างๆ ของจอภาพในลักษณะเหมือนจริง กล่าวคือ แทนที่ NVDA จะนำเสนอตำแหน่งและการจัดวางวัตถุต่างๆ บนจอภาพตามจริง แต่NVDA เลือกที่จะนำเสนอโครงสร้างความสัมพันธ์ระหว่างวัตถุต่างๆ แบบมีเหตุผลและมีลำดับความสัมพันธ์ การนำล่องตามวัตถุ ให้เลือกใช้คำสั่งต่างๆ ดังต่อไปนี้ NVDA+numPad5: วัตถุนำล่องปัจจุบัน อ่านวัตถุนำล่องปัจจุบัน กด 2 ครั้ง จะสะกด กด 3 ครั้ง คัดลอกชื่อและรายละเอียดลงบนคลิบบอร์ด Shift+NVDA+numPad5: ขนาดและที่ตั้งของวัตถุนำล่อง อ่านขนาดและที่ตั้งของวัตถุนำล่องปัจจุบัน ข้อสังเกต คือ ต้องเลือกใช้ Shift ด้านขวาเท่านั้น Control+Shift+NVDA+numPad5: วัตถุนำล่องหลัก อ่านวัตถุนำล่องปัจจุบันและวัตถุนำล่องหลัก ข้อสังเกต คือ เลือกใช้แป้น Control และ Shift ด้านขวาเท่านั้น NVDA+numPad8: วัตถุนำล่องหลัก เลื่อนวัตถุนำล่องขึ้นทีละหนึ่งระดับ ปลายทางหรือรากของต้นไม้ คือ Desktop NVDA+numPad2: วัตถุนำล่องรองแรก เลื่อนวัตถุนำล่องห่างจากรากทีละหนึ่งระดับ ปลายทาง คือ Application ที่อยู่ปลายสุดของต้นไม้ NVDA+numPad4: วัตถุนำล่องก่อนหน้า เลื่อนวัตถุนำล่องไปยังวัตถุข้างเคียงด้านซ้ายมือที่อยู่ในระดับเดียวกัน Shift+NVDA+numPad4: วัตถุนำล่องก่อนหน้าแบบเลื่อนไหล เลื่อนวัตถุนำล่องไปยังวัตถุข้างเคียงด้านซ้ายมือก่อนในระดับเดียวกันโดยสามารถก้าวข้ามขอบระดับต่อไปได้ NVDA+numPad6: วัตถุนำล่องถัดไป เลื่อนวัตถุนำล่องไปยังวัตถุข้างเคียงด้านขวามือที่อยู่ในระดับเดียวกัน Shift+NVDA+numPad6: วัตถุนำล่องถัดไปแบบเลื่อนไหล เลื่อนวัตถุนำล่องไปยังวัตถุข้างเคียงด้านขวามือในระดับเดียวกันก่อนโดยสามารถก้าวข้ามขอบระดับต่อไปได้ NVDA+numpadEnter: วัตถุนำล่องเริ่มต้นการใช้งานดั้งเดิม เริ่มต้นการใช้งานวัตถุปัจจุบัน ลักษณะการทำงานเหมือนการกดแป้น Enter หรือ Click NVDA+numPadDivide: เลื่อน Mouse ไปยังวัตถุนำล่อง เลื่อนตำแหน่งของ Mouse ไปยังตำแหน่งของวัตถุนำล่องปัจจุบัน NVDA+numPadMultiply: เลื่อนวัตถุนำล่องไปยัง Mouse เลื่อนตำแหน่งของวัตถุนำล่องไปยังตำแหน่งของ Mouse numpadSubtract: เลื่อนแถบทบทวนไปยังลูกศร เลื่อนตำแหน่งของแถบทบทวนไปยังตำแหน่งของลูกศร Control+numpadSubtract: เลื่อนลูกศรไปยังแถบทบทวน เลื่อนตำแหน่งของลูกศรไปยังตำแหน่งของแถบทบทวน NVDA+numPadSubtract: กำหนดวัตถุนำล่องไปยังตำแหน่งโฟกัส เลื่อนวัตถุนำล่องไปยังตำแหน่งโฟกัส numPadDivide: คลิกซ้าย จำลองการกดแป้น Mouse ด้านซ้าย numPadMultiply: คลิกขวา จำลองการกดแป้น Mouse ด้านขวา numpadAdd: อ่านทั้งหมดสำหรับแถบทบทวน อ่านเริ่มต้นจากแถบทบทวนจนถึงตำแหน่งท้ายสุดที่แถบทบทวนสามารถเข้าถึง NVDA+numPadAdd: อ่านทั้งหมดสำหรับวัตถุนำล่อง เริ่มอ่านวัตถุต่างๆ ทีละวัตถุเริ่มจากตำแหน่งของวัตถุนำล่องจนหมดจอภาพ reading objeckts: ชุดคำสั่งที่ใช้แถบทบทวนเพื่ออ่านรายละเอียดของเนื้อหา numpad1: ทบทวนอักษรก่อนหน้า คำสั่งนี้ใช้เพื่อเลื่อนอ่านตัวอักษรก่อนหน้าของแถบทบทวน Shift+numpad1: ทบทวนตอนต้นบรรทัด คำสั่งนี้ใช้เพื่อเลื่อนแถบทบทวนไปยังตัวอักษรแรกของบรรทัด numpad2: ทบทวนอักษรปัจจุบัน คำสั่งนี้ใช้เพื่ออ่านตัวอักษรปัจจุบันบริเวณตำแหน่งของแถบทบทวน numpad3: ทบทวนอักษรถัดไป คำสั่งนี้ใช้เพื่อเลื่อนอ่านตัวอักษรถัดไปของแถบทบทวน Shift+numpad3: ทบทวนตอนท้ายบรรทัด คำสั่งนี้ใช้เพื่อเลื่อนแถบทบทวนไปยังตัวอักษรสุดท้ายของบรรทัด numpad4: ทบทวนคำก่อนหน้า คำสั่งนี้ใช้เพื่อเลื่อนอ่านคำก่อนหน้าของแถบทบทวน numpad5: ทบทวนคำปัจจุบัน คำสั่งนี้ใช้เพื่ออ่านคำบริเวณตำแหน่งของแถบทบทวน numpad6: ทบทวนคำถัดไป คำสั่งนี้ใช้เพื่อเลื่อนอ่านคำถัดไปของแถบทบทวน numpad7: ทบทวนบันทัดก่อนหน้า คำสั่งนี้ใช้เพื่อเลื่อนอ่านบรรทัดก่อนหน้าของแถบทบทวน Shift+numpad7: ทบทวนบันทัดบน คำสั่งนี้ใช้เพื่อเลื่อนแถบทบทวนไปยังบรรทัดแรกของหน้า numpad8: ทบทวนบันทัดปัจจุบัน คำสั่งนี้ใช้เพื่ออ่านบรรทัดบริเวณตำแหน่งของแถบทบทวน numpad9: ทบทวนบันทัดถัดไป คำสั่งนี้ใช้เพื่อเลื่อนอ่านบรรทัดถัดไปของแถบทบทวน Shift+numpad9: ทบทวนบรรทัดล่าง * คำสั่งนี้ใช้เพื่อเลื่อนแถบทบทวนไปยังบรรทัดสุดท้ายของหน้า คำสั่งของ VirtualBuffer ที่สามารถใช้ได้ใน Firefox3 (บางส่วนสามารถใช้ได้ใน Internet Explorer หรือ Firefox2): NVDA+space: สลับโหมดใช้งาน VirtualBufferPassThrough เปิดการใช้งานของโหมด virtualBuffer pass-through control+NVDA+f: ค้นหา (control+f ใน firefox2 หรือ internet explorer) NVDA+f3: ค้นหาต่อไป NVDA+f7: รายชื่อลิงค์ (ไม่มีใน firefox2 หรือ internet explorer) NVDA+f5: โหลด buffer ซ้ำ (ไม่มีใน Firefox2 หรือ Internet Explorer) แป้นลัดสำหรับ VirtualBuffer เพื่อใช้เลื่อนไปยังส่วนต่างๆ ต่อไป (แต่ถ้ากด shift with กับแป้นลัดเหล่านี้ จะเปลี่ยนเป็นการเลื่อนย้อนหลัง): แป้นลัดสำหรับ virtualBuffers ที่รองรับทั้งแบบเก่าและแบบใหม่: h: หัวข้อ l: รายชื่อ i: ตัวเลือกจากรายชื่อ t: ตาราง k: ลิงค์ p: ย่อหน้า (ใช้ใน virtual Buffer แบบเก่า ใช้ Control+Up/DownArrow สำหรับ virtual Buffer แบบใหม่) f: ช่องในฟอร์ม แป้นลัดที่ไม่ได้รองรับใน virtualBuffers แบบเก่า: u: ลิงค์ที่ไม่เคยเลือก v: ลิงค์ที่เคยเลือก e: ช่องแก้ไข b: ปุ่ม x: กล่องสัญลักษณ์ c: กล่องคอมโบ r: ปุ่มวิทยุ q: บร๊อกอ้างอิง s: เส้นแบ่ง m: กรอบ g: กราฟฟิก 1 to 6: หัวข้อระดับที่ 1 to 6 ตามลำดับ